เครื่องประดับดอกไม้มงคล

การพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ต้นแบบเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในย่านเยาวราช - เจริญกรุง

แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานจากการติดตามคณะผู้วิจัยลงพื้นที่เยาวราช-เจริญกรุงที่ผ่านมานั้น ในการสํารวจชุมชนเก่าแก่ ที่เหมาะสมควรแก่การอนุรักษ์ เป็นสถานที่ที่ตั้งขึ้นมาประมาณ 100 ปีขึ้นไป ทางสถาบันวิจัยและ พัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้มีการร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นแนวทางใน อนาคตต่อการรองรับการมาเยือนของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวใน บริเวณพื้นที่เยาวราช-เจริญกรุง

โดยคณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสําคัญของความเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของ พื้นที่ดั้งเดิมของชุมชนเก่าแก่ที่มีความเจริญของเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงบริบทความเป็นอยู่ของ คนในชุมชนเป็นอย่างมาก ซึ่งคณะผู้วิจัยกับคนในชุมชนร่วมกันหาแนวทางในการรองรับกับการ เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชนเก่าแก่เหล่านี้ จึงเป็นเหตุตั้งต้นในการหาแนวทางสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือการต่อยอดจากผลิตภัณฑ์เดิมของชุมชนให้มีความแปลกใหม่และสวยงามเพิ่ม มากขึ้น โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท่องถิ่นให้มีความโดดเด่นและสามารถทํารายได้ให้กับชุมชนเก่าแก่ ต่อการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่โดยการปรับตัวให้เข้ากับความเจริญที่เข้ามาพร้อมกับจํานวน นักท่องเที่ยวมากมายที่จะหลั่งไหลเข้ามาในพื้นที่เยาวราช-เจริญกรุง

ดอกไม้มงคลของจีน จึงเป็นที่มาของแรงบันดาลใจที่จะทําการสร้างสรรค์ผลงาน เครื่องประดับสําหรับชุมชนเก่าแก่ในย่านเยาวราช-เจริญกรุง สืบเนื่องมาจากคนในชุมชนส่วนมากเป็น คนไทยเชื้อสายจีน มีบรรพบุรุษเป็นคนจีน จึงได้มีความเชื่อเกี่ยวกับดอกไม้มงคล ซึ่งทางผู้วิจัยเห็นว่า เป็นดอกไม้ที่มีความหมายดี และเป็นมงคลแก่ชีวิตของผู้ที่ได้พบเห็น จึงได้สร้างสรรค์ผลงานเข็มกลัด ดอกไม้มงคลขึ้น เพื่อเป็นการต่อยอดให้คนในชุมชนได้พัฒนาหารายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการสร้างสรรค์ ผลงานที่มีความหมายต่อผู้ให้และผู้รับ

ดอกไม้มงคล


การสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับชุดดอกไม้มงคล โดยคณะผู้วิจัยได้เห็นถึงวิถีชุมชนมีความเป็นอยู่กับความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องราวของความมีคุณค่าทางจิตใจ ความเป็นพิธีกรรมต่างๆ ความศรัทธา โดยสิ่งต่างๆ เหล่านี้เสมือนกับการเป็นกุศโลบายในการพัฒนาจิตใจ โดยเป็นสิ่งที่ดีงาม เพื่อความโชคดี เพื่อการค้าขาย คณะผู้วิจัยได้เห็นถึงแนวความคิดที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่อย่างมาก จึงต่อยอดกับความเป็นมงคลในทางความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีน โดยเชื่อมโยงกับความหมายที่เป็นมงคลของดอกไม้ต่างๆ ที่มีความหมายที่ดีงาม เพื่อเป็นแนวทางในการดึงดูดผู้บริโภคหรือนักท่องเที่ยวที่จะหลั่งไหลเข้ามาในพื้นที่ จึงเป็นการเตรียมพร้อมในการพัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับพื้นที่ และรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาเป็นจำนวนมาก คณะผู้วิจัยกับชุมชนจึงร่วมมือกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีความเฉพาะตัวเป็นเอกลักษณ์ต่อชุมชน จึงเป็นการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับต้นแบบชุดดอกไม้มงคลชุดนี้ เพื่อให้มีคุณค่าทางจิตใจแก่ผู้ที่ได้ครอบครองเครื่องประดับดอกไม้มงคลทั้ง 7 แบบ


การสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับชุดดอกไม้มงคล ดำเนินการออกแบบโดย ผศ.ดร.วีรวัฒน์ สิริเวสมาศ โดยมีคุณอภิเษก นรินทร์ชัยรังษี เป็นผู้ช่วยดำเนินการผลิต