ต้นแบบเครื่องประดับดอกไม้

การพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ต้นแบบเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในย่านเยาวราช - เจริญกรุง

การสร้างสรรค์งานต้นแบบเครื่องประดับดอกไม้อาเซียนนี้ มาจากแรงบันดาลใจจากดอกไม้ประจำชาติในประเทศอาเซียน โดยคณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นการสอดคล้อง หรือเชื่อมโยงเกี่ยวกับหัวข้อโครงการวิจัยนี้ โดยการนำเสนอรูปแบบแนวทางสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับต้นแบบ เพื่อเป็นการต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนนั้นให้ยั่งยืนต่อการท่องเที่ยวในชุมชน และในเวลานี้ประเทศไทยได้เป็นประธานกลุ่มในประเทศอาเซียน จึงได้ให้ความสำคัญต่อการท่องเที่ยวในประเทศภูมิภาคเดียวกันซึ่งโครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาและสำรวจต่อการอนุรักษ์ของเดิมและพัฒนาสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นในมิติใหม่ ๆ และมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิมที่เคยมีและเป็นอยู่ดังเดิม

โดยคณะผู้วิจัยเน้นให้ความสำคัญต่อการหาแนวทางต่อยอดและพัฒนาสินค้าที่มีอยู่เดิมเป็นหลัก โดยใช้การศึกษาข้อมูลชุมชน ลงสำรวจพื้นที่ แลกเปลี่ยนแนวคิดกับคนในชุมชน หารือแนวทางร่วม ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนโดยการเพิ่มมูลค่าของสินค้าในชุมชนโดยการสร้างสรรค์ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยหรือเหมาะสมกับความเป็นปัจจุบันสมัย อาจจะเป็นในรูปแบบสินค้าของฝาก ของที่ระลึก หรือจะต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์หลักของชุมชนก็เป็นได้ ซึ่งเป็นแนวทางต่อยอดเพิ่มรายได้ของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนได้อย่างดี โดยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์นี้เป็นการดึงดูด และเป็นตัวชักนำให้ผู้คนได้เข้ามาศึกษาในด้านวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ในอาชีพทำมาหากินของชุมชน และการศึกษาโครงการนี้เป็นแนวทางที่ดีต่อสังคม เป็นการพัฒนาคนในชุมชน และเป็นการเตรียมพร้อมให้กับชุมชนต่อการอนุรักษ์และพัฒนาสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า เป็นการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนในเชิงการท่องเที่ยว

ในการออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเงินต้นแบบรูปดอกไม้ ได้มีการศึกษาถึงความเป็นมาและความหมายของดอกไม้ประจำอาเซียนในแต่ละประเทศ เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างสรรค์ผลงาน ที่ได้เกิดขึ้นมาจากแรงบันดาลใจในการเปรียบเทียบความงดงามของดอกไม้ของแต่ละประเทศ ดังต่อไปนี้

ผลงานสำเร็จ



การดำเนินงานวิจัยและออกแบบงานต้นแบบเครื่องประดับดอกไม้ นี้เป็นผลงานของนักศึกษา ในโครงการ การออกแบบเครื่องประดับจากอัตลักษณ์ชุมชนวัฒนธรรมจีนในย่านเยาวราช-เจริญกรุง วิชาเลือก Special Topic ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ ซึ่งควบคุมโดย ผศ.ดร.วีรวัฒน์ สิริเวสมาศ คณะมัณฑนศิลป์ (2560-2561) ซึ่งมีคุณสุพจน์ ศุภธนาเศรษฐ์ ช่วยในส่วนของงาน 3D และดำเนินการผลิต